Food Innovation &
Regulation Network

l

FFC Thailand (Foods with Function Claim) เครื่องมือขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ

 
       อาหารเชิงหน้าที่ (Functional foods) และ ส่วนประกอบเชิงหน้าที่ (Functional Ingredients) คือ ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณสมบัติเชิงหน้าที่เฉพาะเจาะจงในการส่งเสริมสุขภาพด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีสารสำคัญหรือส่วนประกอบเชิงหน้าที่ที่นอกเหนือไปจากสารวิตามิน/เกลือแร่เพื่อโภชนาการทั่วไป ตัวอย่างเช่น กรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ช่วยปรับสมดุล ลดการอักเสบของร่างกายและบำรุงระบบสมองและสายตา พรีไบโอติกและโพรไบโอติก สารฟีนอลิกจากพืชที่ช่วยการทำงานของระบบหลอดเลือดและหัวใจ เป็นต้น
 
        FIRNเสนอการจัดทำระบบอาหารที่มีการกล่าวอ้างอาหารเชิงหน้าที่ FFC Thailand คือ ระบบรับรองการกล่าวอ้างเชิงสุขภาพในสินค้าเกษตรและอาหาร ส่วนประกอบเชิงหน้าที่ (Functional Ingredient) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยผู้ประกอบการทุกระดับสามารถยืนยันการกล่าวอ้างเชิงสุขภาพด้วยเอกสารหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบออนไลน์ โดยระบบนี้จะเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนา “อาหารมูลค่าสูง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อาหารเชิงหน้าที่ (Functional Food)” ซึ่งประเทศไทยมีการลงทุนวิจัย และพัฒนาธุรกิจด้านต้นน้ำแต่ยังขาดกลไกการขับเคลื่อนที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบจากต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยลักษณะเด่นของระบบ FFC Thailand ที่จะมาช่วยปิดช่องว่างเชิงระบบนิเวศในอดีต และลดระยะเวลาในการออกสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารเชิงสุขภาพ
 
       ที่ประชุมคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 มีมติเห็นชอบข้อเสนอเชิงนโยบายโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนากลไกการจัดตั้ง FFC (Food with Function Claim) Thailand และมอบหมายให้ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ กำหนดแผนการพัฒนาบุคลากร เกณฑ์ มาตรฐานทางวิชาการและงานวิจัย เพื่อสนับสนุนให้การผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร บนพื้นฐานด้านความปลอดภัย และประสิทธิผลของสินค้าเกษตรและอาหารของไทยที่มีผลต่อสุขภาพต่อไป