Food Innovation &
Regulation Network

l

About Us

ตามที่ รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศผ่านการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-Based Economy) และได้กำหนดให้อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the future) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นกลไกลขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ หน่วยงานต่างๆ จึงมีมาตรการสนับสนุนบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เกิดการลงทุนนวัตกรรมอาหารในประเทศไทย  การขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพถือเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งผู้ผลิตอาหารในระดับอุตสาหกรรมยังไม่มีความเข้าใจในขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพที่สอดคล้องกับกฎหมาย ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการส่วนมากยังไม่เข้าใจในกฎหมายและประกาศจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่าที่ควร จนกลายเป็นอุปสรรคในการนำผลิตภัณฑ์นวัตกรรมออกสู่ตลาดและจำเป็นต้องการผู้เชี่ยวชาญช่วยสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ในปี พ.ศ.2560 สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) จึงดำเนินโครงการ “Food Innovation & Regulation Network (FIRN)” โดยมุ่งหวังให้เกิดระบบการดำเนินการขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารที่ รวดเร็ว และชัดเจน  

FIRN (Food Innovation and Regulation Network) โดย FoSTAT (สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารแห่งประเทศไทย) จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือของสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน. หรือ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในปัจจุบัน) เพื่อพัฒนาความเข้าใจในระเบียบการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim Regulation) และสนับสนุนการวิจัยศึกษาด้านอาหารเชิงหน้าที่ (Functional food) โดยมีเป้าหมายในการปิดช่องว่างและส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศน์ (Ecosystem) สำหรับการพัฒนาไปสู่ธุรกิจอาหารมูลค่าสูง ซึ่ง FIRN มีแผนการดำเนินงาน 4 ระยะ (ดังภาพ)

OUR MISSION

  1. เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดอบรมและสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขออนุญาตอาหาร
  2. เป็นศูนย์กลางเครือข่ายนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ Functional Food ของประเทศไทย

 

OUR OBJECTIVES

  1. จัดการสื่อสารและอบรม ให้ความรู้ด้าน Protocol / Guideline / Criteria ในการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ
  2. จัดอบรมให้นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ ให้เข้าใจในระบบการขออนุญาตและประเมินด้านอาหารที่ อย. กำหนด พัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอาหาร รวมถึงการจัดทำสื่อการอบรมที่เหมาะสม
  3. สร้างความเข้าใจของนักวิจัย ผู้ให้ทุนและภาคเอกชน ในการวางแผนวิจัยเพื่อให้ตอบโจทย์ การวิเคราะห์ผลวิจัยทั้งจากของภาคเอกชนและจากวารสารอื่นๆ และกระบวนการซึ่งได้มาของข้อมูลที่จะสามารถสรุปผลได้ ที่ได้มาตรฐานของ อย.
  4. พัฒนาเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและศักยภาพของผู้เชี่ยวชาญในการประเมินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมอาหารและความปลอดภัย

 

 

ผลลัพธ์จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของ FIRN ที่สามารถนำไปต่อยอดและสนับสนุนระบบ FFC (Foods with Function Claims) THAILAND ดังนี้

  1. เกิดเครือข่ายนักวิจัย นักวิชาการ จากสหสาขาวิชาที่มีงานวิจัยด้านอาหารเชิงสุขภาพ และมีศักยภาพในการเป็นผู้ประเมินให้ อย. จำนวน 155 คน
  2. ได้ผลการศึกษาเปรียบเทียบหลักการอนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพของสหภาพยุโรป ประเทศไต้หวัน ประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศใน ASEAN
  3. ได้รวบรวมรายการสารสำคัญที่มีผลเชิงสุขภาพ และมีผลการศึกษาวิจัยรองรับจนได้รับการประกาศเป็นรายการสารสำคัญที่อนุญาตให้ใช้ (Positive list) ในประเทศต่าง เสนอต่อ อย. เพื่อพิจารณาปรับเพิ่ม Positive list ของไทย
  4. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้นักวิจัย นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา ผู้แทนจาก อย. สวทช. สวทน. วว. และ หน่วยประเมินความปลอดภัยของอาหาร ได้ร่วมพิจารณาและแลกเปลี่ยนความเห็นผ่านกระบวนการประเมินหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบของสหภาพยุโรป และได้บทสรุปจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาปรับเพิ่ม Positive list ของ อย. จำนวน 11 รายการ
  5. จัดทำหนังสือการพัฒนานวัตกรรมอาหารและการกล่าวอ้างทางสุขภาพ โดยมีเนื้อหาขยายความมาจากคู่มือสำหรับประชาชนเรื่องการขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพของ อย. และแนวทางการประเมินและอนุญาตการกล่าวอ้างทางสุขภาพในระดับสากล รวมถึงการจัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร
  6. จัดทำหลักสูตรอบรมและสื่อเรื่องการพัฒนานวัตกรรมอาหารและการกล่าวอ้างทางสุขภาพ เป็นบทเรียนและแบบทดสอบในรูปแบบออนไลน์ เพื่อผู้เรียน 3 ระดับ ที่มีพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน
  7. จัดทำ website และ Facebook เพื่อสื่อสารข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมอาหารและการกล่าวอ้างทางสุขภาพทั้งในและต่างประเทศให้ภาคเอกชนและผู้สนใจทราบ
  8. ได้ศึกษาหลักการและแนวทางการรับรองมาตรฐาน Food with Functional Claim (FFC) ของญี่ปุ่น และประชุมหารือกับ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการจาก National Agriculture and Food Research Organization (NARO) จากประเทศญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและสร้างความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
  9. FIRN ร่วมกับ สกสว. สวทช. และ TCELs ในการจัดทำแผนการให้คำปรึกษา (Regulatory sandbox) แก่ผู้ประกอบการที่สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ และต้องการขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพจาก อย. โดยจัดสัมมนาให้ความรู้ผู้ประกอบการกว่า 200 ราย และคัดเลือกผู้ประกอบการกว่า 30 รายมาเข้าร่วมกิจกรรม Regulatory sandbox