- เกิดเครือข่ายนักวิจัย นักวิชาการ จากสหสาขาวิชาที่มีงานวิจัยด้านอาหารเชิงสุขภาพ และมีศักยภาพในการเป็นผู้ประเมินให้ อย. จำนวน 155 คน
- ได้ผลการศึกษาเปรียบเทียบหลักการอนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพของสหภาพยุโรป ประเทศไต้หวัน ประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศใน ASEAN
- ได้รวบรวมรายการสารสำคัญที่มีผลเชิงสุขภาพ และมีผลการศึกษาวิจัยรองรับจนได้รับการประกาศเป็นรายการสารสำคัญที่อนุญาตให้ใช้ (Positive list) ในประเทศต่าง เสนอต่อ อย. เพื่อพิจารณาปรับเพิ่ม Positive list ของไทย
- จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้นักวิจัย นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา ผู้แทนจาก อย. สวทช. สวทน. วว. และ หน่วยประเมินความปลอดภัยของอาหาร ได้ร่วมพิจารณาและแลกเปลี่ยนความเห็นผ่านกระบวนการประเมินหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบของสหภาพยุโรป และได้บทสรุปจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาปรับเพิ่ม Positive list ของ อย. จำนวน 11 รายการ
- จัดทำหนังสือการพัฒนานวัตกรรมอาหารและการกล่าวอ้างทางสุขภาพ โดยมีเนื้อหาขยายความมาจากคู่มือสำหรับประชาชนเรื่องการขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพของ อย. และแนวทางการประเมินและอนุญาตการกล่าวอ้างทางสุขภาพในระดับสากล รวมถึงการจัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร
- จัดทำหลักสูตรอบรมและสื่อเรื่องการพัฒนานวัตกรรมอาหารและการกล่าวอ้างทางสุขภาพ เป็นบทเรียนและแบบทดสอบในรูปแบบออนไลน์ เพื่อผู้เรียน 3 ระดับ ที่มีพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน
- จัดทำ website และ Facebook เพื่อสื่อสารข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมอาหารและการกล่าวอ้างทางสุขภาพทั้งในและต่างประเทศให้ภาคเอกชนและผู้สนใจทราบ
- ได้ศึกษาหลักการและแนวทางการรับรองมาตรฐาน Food with Functional Claim (FFC) ของญี่ปุ่น และประชุมหารือกับ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการจาก National Agriculture and Food Research Organization (NARO) จากประเทศญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและสร้างความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
- FIRN ร่วมกับ สกสว. สวทช. และ TCELs ในการจัดทำแผนการให้คำปรึกษา (Regulatory sandbox) แก่ผู้ประกอบการที่สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ และต้องการขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพจาก อย. โดยจัดสัมมนาให้ความรู้ผู้ประกอบการกว่า 200 ราย และคัดเลือกผู้ประกอบการกว่า 30 รายมาเข้าร่วมกิจกรรม Regulatory sandbox