Food Innovation &
Regulation Network

l

ความหมายของ Technical Bulletin

Technical Bulletin – เป็นเอกสารอิงวิชาการว่าด้วยหลักฐานและการประเมินหลักฐานที่ใช้ยืนยันการกล่าวถึงหรือกล่าวอ้างคุณสมบัติเชิงสุขภาพ โดยเน้นผลิตภัณฑ์และสารสำคัญเชิงหน้าที่ (functional bioactives) ที่จำเป็นต้องพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ตามเกณฑ์ทางวิชาการตามเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือในระดับนานาชาติ เช่น  European Food Safety Authority (EFSA), Case study of Foods with Functional Claims (FFC) Japan เป็นต้น

เอกสาร Technical Bulletin จึงนำเสนอเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการประเมินหลักฐานการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารหรือสารสำคัญ ตัวอย่างหลักฐานสำคัญที่ต้องมี และวิธีการพิจารณาในลักษณะสากลซึ่งเป็นในรูปแบบ สหสาขาวิชา (multidisciplinary) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินเอกสารหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Practical case studies)

ข้อจำกัดการใช้งาน: เอกสาร Technical Bulletin มีเจตจำนงเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ใช่เอกสารที่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะใช้ในการยืนยันด้านการยื่นขออนุญาตอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย ผู้อ่านควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมจากองค์กรที่มีอำนาจและความรับผิดชอบโดยตรงเพื่อความถูกต้องและควร update ด้วยตัวเอง FIRN (Food Innovation Regulation Network) เป็นกลุ่มหรือชมรมวิชาการภายใต้สมาคมวิทยาศาสตร์ทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) ซึ่งเป็นองค์การทางวิชาการที่ไม่หวังผลกำไร แม้ว่า FIRN by FoSTAT มีความตั้งใจในการพัฒนาเอกสารด้วยความถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่ไม่รับผิดชอบต่อการนำไปใช้หรือการผูกพันทางกฎหมายใด 

คณะบรรณาธิการ (Editorial Board)

หัวหน้าบรรณาธิการ (Editor in Chief)

ศ.ดร. ภาวิณี ชินะโชติ

ที่ปรึกษาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) 
และหัวหน้าโครงการ Food Innovation and Regulation Network (FIRN)

บรรณาธิการ (Editor)

ผศ.ดร. อาณดี  นิติธรรมยง

นายกสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

บรรณาธิการ (Editor)

รศ.ดร. สายวรุฬ  ชัยวานิชศิริ

ข้าราชการบำนาญ ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บรรณาธิการ (Editor)

ดร. ชนินทร์  เจริญพงศ์

อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

คำขอบคุณ (Acknowledgement)

คณะทำงานขอขอบคุณการอนุเคราะห์สนับสนุนโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ที่สนับสนุนงานด้านการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยและผู้ประกอบการเพื่อพัฒนางานด้านอาหารเชิงหน้าที่และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขอขอบคุณสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ Food Innopolis ในการสนับสนุนกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการของกลุ่มนักวิชาการและบุคคลากรของรัฐด้านการประเมินเหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการกล่าวอ้างเชิงสุขภาพ

ขอขอบคุณนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่สนใจเข้าร่วมอบรมและเป็นผู้ร่วมเขียนเอกสารต่าง ๆ ใน FIRN TECHNICAL BULLETIN อันมีคุณค่าต่อการพัฒนางานวิชาการด้านนี้ และเป็นจุดสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของประเทศเพื่อการเข้าสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ วิจัย การพัฒนาเศรษฐกิจผลผลิตเกษตรและอาหารของชาติ