Food Innovation &
Regulation Network

l

เปิดรับสมัครการอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 “การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพ” Workshop II

“HANDS-ON Systematic Review: intermediate course” เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ กับภาคต่อของการอบรม Systematic Review เพื่อการยืนยันหลักฐานเชิงสุขภาพเชิงหน้าที่ ทั้งรูปแบบ onsite และ online โดยการอบรมนี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพนักวิจัยให้มีความสามารถและความเข้าใจเชิงลึกในการจัดทำ Systematic Review เพื่อใช้ประกอบการยื่นขอกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) พร้อมทั้งได้รับคำปรึกษา การทำโครงร่างวิจัย (Research Protocol) จากทีมผู้เชี่ยวชาญอย่างเต็มศักยภาพ                     การอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 “การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพ” Workshop II                                […]

สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการ “HAND-ON Systematic Review การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Workshop I)”

Food Innovation & Regulation Network (FIRN) ภายใต้สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) ร่วมกับบริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด (SIVITT) โดยการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ได้จัดอบรมเรื่อง “HAND-ON Systematic Review การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Workshop I)” ขึ้นเมื่อวันที่ 3 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ณ โรงแรม โนโวเทล กรุงเทพฯ เพลินจิต สุขุมวิท ร่วมกับระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพนักวิจัยให้มีความสามารถและเข้าใจเชิงลึกในการจัดทำ systematic review ด้านอาหารและสารสำคัญในอาหาร ซึ่งเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ที่แสดงการพิสูจน์การกล่าวอ้างทางสุขภาพ เพื่อใช้ประกอบการยื่นขอกล่าวอ้างทางสุขภาพ (health claim) การอบรมประกอบด้วยการบรรยายและการฝึกปฏิบัติโดยทีมวิทยากรจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ รศ. พญ.วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ  ดร. ภกญ.พัทธรา ลีฬหวรงค์  ดร.รุ่งนภา คำผาง  […]

สรุปกิจกรรมการอบรม “กลยุทธ์การบริหารการออกแบบวิจัยเชิงคลินิกเพื่อยืนยันการกล่าวอ้างเชิงสุขภาพ ของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเชิงหน้าที่และโภชนาการ”

สรุปกิจกรรมการอบรม “กลยุทธ์การบริหารการออกแบบวิจัยเชิงคลินิกเพื่อยืนยันการกล่าวอ้างเชิงสุขภาพ ของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเชิงหน้าที่และโภชนาการ” เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 โครงการ Food Innovation & Regulation Network (FIRN) โดยสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (Food Science and Technology Association of Thailand หรือ FoSTAT) ได้จัดการอบรมเรื่อง “กลยุทธ์การบริหารการออกแบบวิจัยเชิงคลินิกเพื่อยืนยันการกล่าวอ้างเชิงสุขภาพของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเชิงหน้าที่และโภชนาการ” ณ ห้องประชุมสุรินทร์ โอสถานุเคราะห์ อาคารสาธารณสุขวิศิษฎ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับระบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของนักวิจัยและผู้ประกอบการให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการตั้งโจทย์วิจัย การวางแผนการออกแบบและการบริหารงานวิจัยเชิงคลินิกอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และตามระเบียบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันและผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ยื่นขอกล่าวอ้างทางสุขภาพ (health claim) เพื่อให้ได้มาซึ่ง “หลักฐานทางวิทยาศาสตร์” ที่แม่นยำ สามารถสรุปผลวิจัยได้ และมีจริยธรรมการวิจัยที่ดี ไม่มีอคติ การอบรมประกอบด้วยการบรรยายและการเสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการวิจัยเชิงคลินิก การอบรมเริ่มด้วยการบรรยายเรื่อง “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และการวิจัยทางคลินิค” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม นันทมงคลชัย ประธานคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เน้นหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่นักวิจัยควรพิจารณาก่อนทำการวิจัยทางคลินิก 3 ประการ ได้แก่ […]

การอบรม Systematic Review เบื้องต้น

https://www.youtube.com/watch?v=xzj9p3Oo8uk การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) เบื้องต้น โดย ผศ.ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ หัวหน้าภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากงาน Food Ingredients Asia Conference 2021 วันที่ 20 กันยายน 2021 เอกสารประกอบการบรรยาย : คลิกที่นี่ !!! ——————————————— FIRN Channel : Food Innovation & Regulation Network (FIRN) โดย สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

หลักสูตรออนไลน์ การกล่าวอ้างทางสุขภาพและแนวทางนวัตกรรมอาหาร

ปัจจุบัน คอร์สนี้ปิดรับสมัครแล้ว !! ขั้นตอนในการสมัคร สมัครสมาชิก + เลือก Package หลังจากชำระเงิน ให้ผู้สมัคร Login เข้าระบบ แจ้งชำระเงิน พร้อมแนบหลักฐานการโอน รายละเอียดสำหรับผู้เรียน ทั้ง 3 ระดับ  ระดับที่ 1 เป็นความรู้เบื้องต้นเรื่องการขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพในอาหาร มี Animation 8 บทเรียน ท่านละ 1,600 บาท เหมาะสำหรับ นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการทั่วไป ต้องเรียนให้ครบ 8 บท เรียงตามลำดับ จะได้รับหนังสือรับรองว่าได้เข้าเรียน  ระดับที่ 2 เป็นความรู้ระดับกลางเรื่องการขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพในอาหาร มี PPT + การทดสอบท้ายบท ท่านละ 2,000 บาท เหมาะสำหรับ นักวิจัย นักวิชาการ ผู้ที่ต้องการรู้รายละเอียดทั้งหมดของการขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพ ในระดับนี้ ต้องเรียน 8 บท […]

Workshop on Scientific Evaluation of Health Claims

ครั้งแรกของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้แนวทาง หลักเกณฑ์การประเมินเอกสารหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับการกล่าวอ้างทางสุขภาพในผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความปลอดภัยและการกล่าวอ้างทางสุขภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เข้าใจระบบการขออนุญาตและประเมินด้านอาหารที่สอดคล้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย  มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาบุคลากรและยกระดับทักษะด้านเทคโนโลยีอาหารตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม Date:              28th February – 1st March 2019 Venue:            Morakot Room 2 (12th floor), Winsor Suites Hotel, Bangkok, Thailand Program:         2 days workshop Language:        English without translation Keynote Speakers: Professor Albert Flynn and Mr. Basil Mathioudakis -This workshop is free to attend by invitation only- Agenda : […]

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กรณีศึกษาการประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพ”

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กรณีศึกษาการประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพ” ในวันที่ 4 เมษายน 2561 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องเพทาย ชั้น 14 โรงแรม วินด์เซอร์ สวีทส์ กรุงเทพ กำหนดการ คลิกที่นี่ เอกสารประกอบการบรรยาย แนวทางการประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพของไทย แนวทางพิจารณาหลักฐานประกอบการขอกล่าวอ้างทางสุขภาพของ Federation Of American Societies for Experimental Biology (FASEB) Health claim’s assessment process of herbs as supplemented food or functional ingredient in Taiwan

การอบรมเชิงปฏิบัติการ Functional Ingredient

การอบรมเชิงปฏิบัติการ Functional Ingredient วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องเพทาย ชั้น 14 โรงแรม วินด์เซอร์ สวีทส์ กรุงเทพ หลักการและเหตุผล จากบันทึกความร่วมมือ “โครงการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรและกลไกสนับสนุนนวัตกรรมอาหารของประเทศ” ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กับสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อพัฒนากลไกสนับสนุนระบบหลักเกณฑ์และวิธีการขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร สำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ได้เร็วยิ่งขึ้นนั้น ทาง FoSTAT จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ขึ้น  วัตถุประสงค์การจัดงาน 1. เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างความเข้าใจในระบบการพิจารณาขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) ประเภทต่างๆ สำหรับ Functional Ingredient 2. เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนา Functional Ingredient เพื่อตอบสนองธุรกิจ 3. เพื่อพัฒนากลไกสนับสนุนระบบหลักเกณฑ์และวิธีการขออนุญาตขออนุญาตกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) ประเภทต่างๆ สำหรับ Functional Ingredient เพื่อนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ได้เร็วยิ่งขึ้นในอนาคต หัวข้อการอบรม […]

Functional Food Innovaion & Regulatory workshop

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “Functional Food Innovation & Regulatory workshop – นวัตกรรมและหลักเกณฑ์สำหรับ Functional Food” วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องมรกต ชั้น 12 โรงแรม วินด์เซอร์ สวีทส์ กรุงเทพ หลักการและเหตุผล จากบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนวัตกรรม และกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร” ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กับสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ทาง FoSTAT จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงาน ดังนี้ 1. เพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่สามารถเป็นผู้ประเมินอาหาร Functional Food ได้ในอนาคต 2. เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร Functional Food ทั้งในและต่างประเทศ 3. เพื่อช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในกลไก และกระบวนการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมอาหาร รวมถึงการยื่นขอและการอนุญาตผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร […]